รูปภาพ

รูปภาพ

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 2 และ บทที่ 3

2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ


นักเรียนคงคุ้นเคยกับคำว่า ข้อมูล มานานแล้ว ในโรงเรียนมีข้อมูลอยู่มาก

เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน ข้อมูลวิชาเรียน ข้อมูลเกี่ยวกับครูผู้สอน

ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ในการดำเนินการต่างๆ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลในมาประกอบในการพิจราณา

2.1.1 ข้อมูล (data) คือ ข้อเท็จจริงที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือ

เหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปต่างๆ เช่น ตัวเลข ข้อความ ภาพ เสียง และวีดิทัศน์ ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ หรือข้อความเป็นไปของสิ่งที่เราสนใจ

2.1.2 สารสนเทศ (information)หมายถึงข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เพราะได้ผ่านการประมวลผลด้วยวีการที่เหมาะสมและถูกต้อง

2.2 ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information System : IS) คือการดำเนินงานกับข้อมูล

ตามขั้นตอนปฏิบัติงาน โดยบุคลากรอาจใช้ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เป็นเครื่องมือที่ให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ

สารสนเทศสามารถแบ่งประเภทตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้นได้ ดังนี้

1) สารสนเทศที่ทำประจำ

2) สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย

3) สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ

2.3 ส่วนประกอบของสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่างในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ส่วนประกอบที่

สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน

2.3.1บุคลากร

2.3.2ขั้นตอนการปฏิบัติ
2.3.3ฮาร์ดแวร์


2.3.4ซอฟต์แวร์

2.3.5ข้อมูล

2.4 ประเภทของข้อมูล


2.4.1 ข้อมูลปฐมภูมิ คือข้อมูลที่เก็บจากแหล่งโดยตรง ทำได้โดยการสัมภาษณ์ การนับ มีวิธีเก็บได้ 2 วิธี

1. จากสำมะโน คือการเก็บข้อมูลจากทุกหน่วยงานด้วยการสัมภาษณ์ การนับ ซึ่งไม่ค่อยนิยม เพราะใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง เช่น การเก็บสถิติผู้ใช้รถโดยสารประจำทาง

2. จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างโดยเลือกตัวแทนกลุ่มที่เหมาะสม ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับที่ต้องการศึกษา เช่น สำรวจความนิยมของวัยรุ่นเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือ กลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาก็ต้องเป็นพวกวัยรุ่น

2.4.2 ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ผู้แต่งเก็บรวบรวมไว้แล้ว ซึ่งอาจเก็บไว้ใช้ในการบริหารหน่วยงานนั้นๆ สามารถนำมาใช้ได้เลย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ต้องศึกษาว่า ข้อมูลนั้นเก็บรวบรวมมาเหมาะสมหรือไม่

2.5 การประมวลผลข้อมูล
      ในการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็ยสารสนเทศเพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน
      การประมวลผลข้อมูลเป็นกระบวนการที่มีกระบวนการย่อยหลายกระบวนการประกอบกัน ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การแยกเเยะ การตรวจสอบความถูกต้อง การคำนวณ การจัดลำดับ การรายงานผล รวมถึงการส่งข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูลนั้น

2.6 วิธีการประมวลผล

วิธีการประมวลผล มี 2 ลักษณะ คือ


(1) การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing)

หมายถึง การทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่งไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผลการประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินเอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง

(2) การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)

หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการทราบข้อมูลผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูล นั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานหรือสรุปผลหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน

2.7การจัดการสารสนเทศ


(1) การเก็บรวบรวมข้อมูล

(2) การตรวจสอบข้อมูล

(3) การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล

(4) การจัดเรียงข้อมูล

(5) การคำนวณ

(6) การทำรายงาน

(7) การจัดเก็บ

(8) การทำสำเนา

(9) การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล

2.8 การแทนข้อมูล


สารสนเทศ คือข้อมูลที่ได้ผ่านการ ประมวลผล

การประมวลผลข้อมูลส่วนใหญ่จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยเพื่อ

ความรวดเร็วแม่นยำ ดังนั้นข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์

ประมวลผลจะต้อง อยู่ในรูแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ จึงจำเป็นต้องหา

วิธีการแทนข้อมูลซึ่งเป็นชุด ของตัวอักขระปกติการ ทำงานของ เครื่อง

คอมพิวเตอร ์ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสองสถานะ คือปิดและเปิด

จึงมีการกำหนดให้ใช้ตัวเลข 0 และ 1 แทน สถานะทั้งสอง และมีการ

กำหนดรหัสแทนอักขระด้วยชุดของตัวเลข ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 และ 1

ซึ่งเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสอง (binary digit)ตัวเลขแต่ละหลัก ของ

จำนวนในระบบเลขฐานสองเราเรียกว่า บิต (bit) เพื่อให้การ แทนอักขระ

ต่างๆ ด้วยตัวเลขฐานสองได้ครบจึงมีการกำหนดให้ใช้ ตัวเลขฐานสอง

8 บิต ซึ่งเรียกว่า 1 ไบต์ (byte) แทนตัวอักขระ 1 ตัว

รหัสที่ใช้แทนตัวอักขระที่เป็นมาตรฐานแบบหนึ่ง เรียกว่า รหัสแอสกี (American Standard Code for

Information Interchange : ASCII)

ตัวเลข ฐานสอง 8 บิต หรือ 1 ไบต์ สามารถใช้แทนรหัสต่างๆ ได้ถึง 256 ตัว แต่รหัสตัวอักษรภาษา

อังกฤษทั้งหมดมีจำนวนรวมกันไม่เกิน 128 ตัว ดังนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจึงได้

กำหนด รหัสภาษาไทยเพิ่มเติมเพื่อใช้ในงานสารสนเทศเป็นภาษาไทยได้

บทที่ 3

พัฒนาการคอมพิวเตอร์

3.1เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์

เช่น ลูกคิดชาวจีน เครื่องทอผ้าอัตโนมัติด้วยการใช้บัตรเจาะรู เครื่องคำนวณ ดิฟเฟอเรนซ์เอนจิน

3.2คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศ(พ.ศ.2488-2501)

เช่น เครื่องอินิแอค

3.3คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์(พ.ศ.2500-2507)

3.4คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม(พ.ศ.2508-2512)

3.5คอมพิวเตอร์ยุคแอลเอสไอ(พ.ศ.2513-2532)

3.6คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย(พ.ศ.2533-ปัจจุบัน)

3.7เทคโนโลยีสื่อประสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น